วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ไม้บรรทัดวัดการศึกษา

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวสมฤดี         คนยง               รหัสนักศึกษา 5641070105
2. นางสาวฐิติมา          พัฒทอง           รหัสนักศึกษา 5641070106
3. นางสาวสามินี         ทองหีต            รหัสนักศึกษา 5641070107
4. นางสาวศิริพร          ไชยรส             รหัสนักศึกษา 5641070108
5. นางสาวเกตุสุดา      บุญมา              รหัสนักศึกษา 5641070109
6. นายฉัตรริน              อมรสิน            รหัสนักศึกษา 5641070124
7. นางสาวอมิตตา        เทพรักษ์          รหัสนักศึกษา 5641070125
8. นายอนันต์               บุญร่วม            รหัสนักศึกษา 5641070138
9. นางสาวนาดีญา       เล๊าะยีตา           รหัสนักศึกษา 5641070139
10.นางสาวอนันตรา    แสงจันทร์       รหัสนักศึกษา 5641070145
11.นายปารณัท            วรรณภักดี       รหัสนักศึกษา 5641070150
นักศึกษาคณะครุศาสตร์   สาขาคณิตศาสตร์  รุ่น  56  กลุ่ม  09
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

อ้างอิง : ดร.นฤมล ปภัสสรานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี


คำอธิบายรายวิชา


คำอธิบายรายวิชา 


สัมมนาปัญหาการศึกษา   (Seminar Problems in Education)  



การจัดสัมมนา  กระบวนการและการปฏิบัติการสัมมนาปัญหาการศึกษา

Seminar; Management process and actions in education problems.

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แผนผัง DRU Model





http://www.slideshare.net/AmittaTapparak1/ss-68255094

อ้างอิง : ดร.นฤมล ปภัสสรานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

DRU Model

สามเหลี่ยมแห่งการเรียนรู้

การศึกษาตลอดชีวิต




การจัดการศึกษามี รูปแบบดังนี้              

     1. การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน                                                  

     2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกล                                                                                                                                                                 
     3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
                 
                 ด้านความรู้ (Knowledge)  กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง

                 ด้านผู้เรียน (Learner)  กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                 ด้านสังคม (Society) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับ      ผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา

จากรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต  จะสอดคล้องกับแนวความคิดของไทเลอร์ 4 ขั้น จะได้สามเหลี่ยม  ภายในวงกลมสี่รูป  ได้แก่
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผน ( Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร

2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนอง  จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้  และรวมถึงการนิเทศการศึกษา

4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร





การเรียนรู้ตลอดชีวิต



                    P = Planning (การวางแผน)                             C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                    D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)    A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)
                    M = Management (การจัดการ,การควบคุม)   L = Learning (การเรียนรู้)
                    S = Strategic network (กลวิธี)                       A = Assessment (การประเมินค่า)   
                    E = Evaluation  (การประเมินผล)


         จากรูปด้านดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้

                 สามเหลี่ยมรูปที่ 1
                       ามเหลี่ยม (D) การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้    
                 จะนำไปสู่  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                       1. P = Planning  (การวางแผน)
                       2. D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)
                       3. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                       4. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วม
วิชาชีพ)



                 สามเหลี่ยมรูปที่  2
                              สามเหลี่ยม (R) ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนด
                 สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
                 การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                        1. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                        2. L = Learning (การเรียนรู้)
                        3. M = Management (การจัดการ,การควบคุม) 
                        4. S = Strategic network  (กลวิธี)


           สามเหลี่ยมที่  3
                 สามเหลี่ยม (U) การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL 
           เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
           การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                 1. A = Assessment (การประเมินค่า)
                 2. S = Strategic network  (กลวิธี)
                 3. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วม
วิชาชีพ)          
                 4. E = Evaluation  (การประเมินผล)


          
             จากขั้นตอนการจัดรูปแบบการเรียนรู้  จะเห็นได้ว่า  การจัดรูปแบบการเรียนรู้ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน
โดยมีการวางแผน  การออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อใช้เป็นแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อให้
บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้เฉพาะ ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อกำหนดลักษณะขององค์ประกอบการเรียนรู้  นำวิธีการเชิงระบบมาจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการเรียนรู้  และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสม